บทที่ 11 มารยาทการรับประทานอาหารแบบสากล

หน้า 92 การพัฒนาบ ุคลิกภาพ (Personality Development) บทที่ 11 มารยาทการ...

48 downloads 305 Views 113KB Size
บทที่ 11 มารยาทการรับประทานอาหารแบบสากล งานสังคมหรืองานเลี้ยงอาหารในโอกาสต่างๆ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตประจําวันของเรา ทั้งการ เป็นแขกรับเชิญหรือการเป็นเจ้าภาพ ธรรมเนียมปฏิบัติของแขกรับเชิญงานรับประทานอาหารแต่ละท้องถิ่นมี ความแตกต่างกัน แต่โดยพื้นฐานแล้วมารยาทในโต๊ะอาหารมีมาตรฐานสากล เพื่อให้รับประทานอาหารได้ สะดวกโดยไม่รบกวนหรือทําให้ผู้ร่วมโต๊ะคนอื่นต้องขัดเขิน จึงมีแนวทางดังนี้ ก่อนเข้าโต๊ะอาหาร - เจ้าภาพ จะทักทายกับแขก และตรวจสอบยอดแขกรับเชิญ - แขกจะได้ทักทาย พูดคุยซึ่งกันและกัน และตรวจสอบที่นั่ง ณ โต๊ะอาหารจากผังที่นั่ง - ท่า นที่ เป็ น ชายจะมี ห น้ า ที่ นํ า แขกสุ ภ าพสตรีที่ นั่ งด้ า นขวา เจ้ า ภาพควรหาโอกาสแนะนํ า ให้ สุภาพบุรุษรู้จักกับสุภาพสตรีที่นั่งด้านขวา หรือหาโอกาสเข้าไปแนะนําตนเองก่อนเข้าโต๊ะอาหาร - ควรมางานเลี้ยงให้ตรงเวลาตามบัตรเชิญ หากเป็นงานเลี้ยงที่เป็นกันเอง การนําของฝากมาให้ เจ้าภาพนับเป็นการแสดงออกที่ดี ของฝากอาจเป็นดอกไม้ ไวน์ ช็อคโกแลต หรืออะไรก็ได้ที่เห็นว่าเหมาะสม ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินมาไม่ได้หรือมาช้าจะต้องโทรศัพท์แจ้งเจ้าภาพเพื่อให้เจ้าภาพได้แก้ปัญหาทันเวลา - เจ้าภาพ (ส่วนใหญ่เป็นเจ้าภาพชาย) เชิญให้แขกดื่ม แขกจะเริ่มดื่มเมื่อบริกรเดินให้บริการ ซึ่ง อาจจะรับเพิ่มเติมหรือปฏิเสธตามความเหมาะสมเมื่อบริกรเวียนมาบริการอีก เจ้าภาพเชิญเข้าห้องรับประทาน อาหารควรวางแก้วและเดินเข้าไปประจําเก้าอี้ตามผัง ไม่ควรนําแก้วเครื่องดื่มจากห้องเลี้ยงรับรองมาที่โต๊ะ อาหาร การเข้าโต๊ะอาหาร - แขกรับเชิญไม่ควรจะนั่งจนกว่าเจ้าภาพหญิงและแขกผู้มีเกียรติจะนั่งแล้ว หรือเจ้าภาพเชิญให้นั่ง สุภาพบุรุษควรช่วยสุภาพสตรีด้านขวาเข้านั่งก่อนที่ตนจะเข้านั่ง - ในการนั่งควรพยายามนั่งตัวตรงโดยวางมือบนตักหรือวางเบาๆ บนโต๊ะ แต่ไม่ควรวางข้อศอกบน โต๊ะเพราะอาจเผลอกดโต๊ะพลิกได้ และยังทําให้ผู้อยู่ซ้ายและขวาพูดคุยกันไม่สะดวก - เวลานั่งโต๊ะควรเลื่อนเก้าอี้ให้ตัวชิดกับโต๊ะมากที่สุด เพื่อจะได้ไม่ต้องก้ม ควรนั่งหลังตรงเวลา รับประทานอาหารอาจโน้มตัวเหนือจานเล็ดน้อย - เมื่อนั่งแล้วควรหยิบผ้าเช็ดปากที่อยู่ด้านซ้ายหรือตรงกลางมาคลี่พาดบนหน้าตักโดยรอ

หน้า 92  

การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development) 

ปฏิบัติหลังเจ้าภาพ ปกติผ้าเช็ดปากจะวางด้านซ้ายในงานไม่เป็นทางการ และวางตรงกลางสําหรับงานเป็น ทางการ ในสังคมตะวันตกมักจะมีการกล่วงขอบคุณพระเจ้าก่อนรับประทานอาหาร การคลี่ผ้าเช็ดปากจึงควร รอจังหวะโดยดูเจ้าภาพเป็นหลัก - หลังจากกล่าวขอบคุณพระเจ้าแล้ว ควรคลี่ผ้าเช็ดปากโดยให้อยู่ในสภาพพับครึ่งและ วางขวางบนตัก จะไม่ใช้เหน็บเอวหรือคอเสื้อ (วิธีเช็ดปาก : คลี่มุมผ้าแยกออกจากันพอสมควรแล้วซับที่ริม ฝีปาก ใช้แล้ว พับกลับอย่างเดิมวางไว้บนตัก ผู้นั่งใกล้เคียงจะไม่เห็นรอยเปื้อนที่เราเช็ด เพราะรอยเปื้อนจอยู่ ด้านในของผ้า) ถ้าจําเป็นต้องไอหรือจาม ให้ใช้ผ้าเช็ดปากปิดปากหรือจมูก และหันหน้าออกจากโต๊ะอาหาร อย่าสั่งน้ํามูก ขากเสลดหรือบ้วนน้ําลายลงผ้าเช็ดปาก - หลังการรับประทานอาหารเสร็จสิ้น ถ้าเป็นภัตตาคารให้วางผ้าเช็ดปากบนโต๊ะโดยไม่ ต้องพับ ถ้าเป็นบ้านเจ้าภาพให้พับสี่และวางบนโต๊ะ ซึ่งถือว่าสิ้นสุดการรับประทานอาหาร ห้ามม้วนผ้าเช็ด ปากเป็นก้อนหรือขยําไว้บนโต๊ะ อุปกรณ์ในการรับประทานอาหาร อุปกรณ์ในการกรับประทานอาหารตนตก จะใช้ส้อมและมีดเป็นหลัก ซึ่งมักจะเรียกว่าเครื่องเงิน (Silverware หรือ Flatware) เพราะเดิมจะทําจากเงิน sterling เครื่องเงินหรือช้อนส้อม มีด จะจัดวาง ตามลําดับการใช้งาน คือ ตามรายการอาหารที่จะเสริฟ ถ้าอาหารมีหลายรายการโดยหลักจะมีมีดและส้อมไม่ เกิน 3 เล่มหรือคัน หากจําเป็นต้องใช้มากกว่านั้นบริการจะนํามาเพิ่มตามความจําเป็น วิธีการใช้มีดังนี้ 1. เลือกใช้จากด้านนอกสุดของจานเข้าหาด้านใน (ทั้งซ้ายและขวา) นั่นคือสิ่งแรกที่ต้องใช้ คือ ช้อน คันนอกสุดจากด้านขวา หรือส้อมคันนอกสุดด้านซ้ายร่วมกับมีดเล่มนอกสุดจากด้าน ขวา 2. มีดและช้อน จะอยู่ด้านขวาของจาน และส้อมจะอยู่ด้านซ้าย ช้อนส้อมสําหรับของหวานจะวาง ถัดไปด้านบนของจาน ซึ่งจะใช้เป็นอันดับสุดท้าย 3. เครื่องเงินควรใช้นําอาหารเข้าปาก ไม่ใช่ก้มปากมารับอาหาร อย่าแกว่งมีดส้อมขณะสนทนา หาก ต้องใช้มือประกอบท่าทางควรวางมีดส้อมก่อน หากสงสัยถึงความเหมาะสมในการใช้อุปกรณ์ในการรับประทาน อาหารให้รอดูจากเจ้าภาพเป็นหลัก ธรรมเนียมการใช้เครื่องเงิน แบบอเมริกัน - จะถือส้อมในมือซ้าย โดยคว่ําส้อมจิ้มจับอาหารให้นิ่งเพื่อใช้มีดในมือขวาตัด เมื่อตัดอาหารเป็น คําๆ แล้ว จะวางมีดด้านขวาหรือด้านบนของจานโดยหันคมมีดเข้ามาข้างใน (จะไม่วางบนโต๊ะโดยเด็ดขาด) และเปลี่ยนมาถือส้อมด้ วยมือขวาให้ปลายส้อมหงายขึ้นจับด้ามส้อมด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้นิ้วกลางใน ลักษณะจับดินสอ เพือจิ้มอมหารเข้าปาก การจับส้อมในการหั่นอาหารจะจับคว่ําในอุ้งมือซ้ายโดยนิ้วชี้จะพาด การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)  

หน้า 93

กดไปตามก้านส้อม (ด้านหลัง) ส่วนมีดจะจับในอุ้งมือขวาและนิ้วชี้พาดไปตามด้ามมีด นิ้วชี้จะไม่แตะบนสันมีด วิธีจับส้อมและมีดในการหั่นนี้ จะเหมือนกันทั้งในธรรมเนียมอเมริกันและยุโรป จะแตกต่างกันคือในแบบยุโรป จะไม่มีการสลับส้อมมาถือมือขวา การนําอาหารเข้าปากจะใช้ส้อมในมือซ้ายเท่านั้น - ในปัจจุบันสามารถใช้ทั้งส้อมคว่ําและหงาย นําอาหารเข้าปาก เช่น ถ้ารับประทานข้าวหรือถั่ง อาจหงายส้อมขึ้นและใช้มีดช่วยปาดอาหารให้ขึ้นไปอยู่บนส้อม ไม่ว่ากรณีใดก็ตามจะไม่มีการใช้มีดนําอาหาร เข้าปากโดยเด็ดขาด - วิธีตัดอาหารเป็นชิ้นๆ พอดีคําไว้มากๆ แล้วใช้ส้อมจิ้มรับประทานด้วยมือขวาติดต่อกันมากๆ ใน บางโอกาสอาจจะไม่เหมาะ ควรค่อยตัด ค่อยรับประทานไปเรื่อยๆ จะเหมาะสมกว่า - ช้อน ถือในมือขวาในลักษณะเดียวกันกับส้อมในมือขวา (ยกเว้นของหวาน) อาหารตะวันตกจะมี เฉพาะช้อนซุป ซึ่งในการรับประทานซุป จะยกรับประทานจากข้างช้อน จะไม่นําทั้งช้อนเข้าปาก ควรยกช้อน มาที่ปากอยู่ก้มตัวให้ปากมาใกล้ชามซุป ถ้าซุปร้อนมากอาจใช้การคนหรือเป่าเบาๆ เวลาตักซุปควรตักออก จากตัวโดยตักที่ผิวหน้าของซุป และแตะก้นช้อนกับขอบชามซุปด้านไกลตัวเพื่อลดการหยดหรือเปรอะเปื้อน เวลานําซุปเข้าปาก การรับประทานซุปเป็นลักษณะเทเข้าปากไม่ใช้การดูดจากช้อน การตักซุปก้นชามให้จับ ตะแคงออกด้วยมือซ้าย และใช้ช้อนตักตามปกติ เมื่อรับประทานซุปเสร็จแล้ว ให้ยกช้อนซุปวางไว้ที่ขอบจาน รองชามซุป - ช้อนของหวาน มักจะมีส้อมของหวานวางคู่กันถัดไปด้านบนของจาน ควรใช้ทั้งช้อนและส้อมใน การรับประทานของหวาน หรืออาจใช้ส้อมอย่างเดียงก็ได้ แต่ไม่ควรใช้ช้อนของหวานอย่างเดียว สําหรับของ หวานที่เสริฟในถ้วยหรือจานเล็กๆ จะใช้ช้อนชาในการรับประทาน ช้อนชาที่ใช้กันถ้วยชา กาแฟ หลังจากใช้ เสร็จแล้วควรวางในจานรอง หรืออาจวางช้อนกาแฟคว่ําบนจานขนมปังหรือจาน dinner ก็ได้ - มี ด เนย จะอยู่ ใ นจานขนมปั ง ด้ า นซ้ า ย และจะใช้ สํ า หรั บ ทาเนยบนขนมปั ง แต่ ล ะชิ้ น ที่ จ ะ รับประทาน การตัดเนยจากจานกลางมาไว้บนจานขนมปัง ให้ใช้มีดเนยใหญาในจานเนยกลาง การทาเนยบน ขนมปังจะต้องใช้มีดเนยเท่านั้น - ส้อมสลัด จะมาคู่กับมีดสลัด ตําแหน่งในการวางจะขึ้นอยู่กับการจะเสริฟสลัดก่อนหรือหลัง อาหารหลัก - มีดปลา จะเป็นมีดปลายมนไม่มีสันคม เหมาะแก่การเลาะก้างปลาและรับประทานปลา ระหว่างนั่งโต๊ะอาหาร มีข้อควรปฏิบัติและพึงระวังดังนี้ - เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว ไม่ควรจับต้องเครื่องเงินเลนหรือพลิกจานชามเพื่อดูยี่ห้อ - สุภาพบุรุษ มี หน้าที่ดูแลคนที่นั่งด้านขวาเป็นหลัก ทั้งในการบริการส่งต่อหรือในการสนทนา ตลอดระยะเวลาที่นั่งอยู่ในโต๊ะอาหาร แต่ก็ไม่ควรละเลยบุคคลด้านซ้าย หน้า 94  

การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development) 

- โต๊ะอาหารจะมีแก้ววางอยู่ทางขวามือ 3-4ใบ ใบแรกจะใช้ดื่มไวน์ขาว ใบถัดไปใช้กับไวน์แดง ใบที่สามจะเป็นแก้วน้ําเย็นและในกรณีที่มีใบที่ 4 จะเป็นแก้วแชมเปญ การใช้แก้วหรือจัดลําดับแก้วเรียงขาก นอกเข้าในเช่นเดียวกับมีดหรือส้อม - หากต้องการเกลือ พริกไทย หรือของส่วนกลางที่วางอยู่บนโต๊ะแต่หยิบไม่ถึงให้ใช้วิธี ขอให้ ส่งผ่าน ไม่ควรใช้การเอื้อมหรือลุกขึ้นยืนหยิบ เมื่อใช้เสร็จแล้วควรส่งต่อเวียนขวา - เครื่องเคียงทุกอย่างควรวางไว้ข้างจาน และตักแบ่งใส่อาหารทีละคํา จะมีเฉพาะพริกไทย เกลือ ที่จะโรยบนอาหารทั้งจาน พึงหลีกเลี่ยงการขอสิ่งที่ไม่ได้เตรียมไว้บนโต๊ะ เพราะเท่ากับเป็นการต่อว่าเจ้าภาพ - อย่าเติมเครื่องปรุงก่อนชิม เพราะเป็นการดูถูกว่ารสอาหารที่ปรุงมาไม่พอดี ควรชิมก่อนจึงค่อย เติมเครื่องปรุงอาหาร - อย่านําเครื่องปรุงส่วนตัว (น้ําปลา พริกป่น) ไปในงานเลี้ยงด้วย - การรับประทานอาหารให้หมดจานเป็นการแสดงออกถึงความอร่อยของอาหารและเป็นการให้ เกียรติแก่เจ้าภาพ - ถ้ามีอาหารบางอย่างที่รับประทานไม่ได้เพราะแพ้อาหาร ควรแจ้งเจ้าภาพหรือเลือกรับประทาน อาหารอย่างอื่นในจาน หรือหลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้ ถ้าเป็นอาหารแบบเสริฟให้ตักของที่แพ้เพียงเล็กน้อย และ ตักอย่างอื่นเพิ่มเป็นการชดเชย การปฏิเสธ WINE ไม่ถือว่าเป็นการผิดมารยาท - ไม่ควรคุยเสียงดังหรือคุยข้ามโต๊ะ ควรจะคุยระหว่างคนข้างเคียง - หลังจากได้รับบริการอาหารแล้ว อย่าส่งต่ออาหารให้ผู้อื่น เพราะการเสริฟอาหารเป็นหน้าที่ขอ งบริกร - การดื่มน้ํา ควรใช้ผ้าเช็ดปากซับปากเสียก่อน เพื่อป้องกันคราบอาหารติดที่ขอบแก้ว - อย่าแลกอาหารหรือแบ่งอาหารบางส่วนให้ผู้อื่นแม้จะอยู่ในโต๊ะเดียวกัน - ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันในโต๊ะอาหาร - ไม่เรียกเครื่องดื่มที่ตนชอบมารินอีกเมื่ออาหารและเครื่องดื่มชุดนั้นผ่านไปแล้ว - กิริยาที่ไม่สุภาพในการรับประทานอาหาร เช่น การพูดในระหว่างมีอาหารเต็มปากรับประทาน อาหารคําใหญ่เกินไป การเรอเสียงดัง - ในระหว่างการรับประทานอาหาร หากสุภาพสตรีด้านขวามือลุกขึ้นจากโต๊ะด้วยเหตุใดก็ตาม สุภาพบุรุษจะต้องรีบลุกขึ้นและเลื่อนเก้าอี้ให้สุภาพสตรี และหากมีกิจธุระจําเป็นต้องลุกจากโต๊ะ ควรขอโทษ เจ้าภาพก่อน - การพักระหว่างรับประทานอาหารให้วางส้อมและมีดบนจานทํามุมกันประมาณ 100 องศา โดย คว่ําส้อมและมีดหันคมไปทางซ้าย อย่าวางกับผ้าปูโต๊ะหรือรวบส้อมมีด ซึ่งหมายถึงการอิ่มแล้ว การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)  

หน้า 95

ลําดับการเสริฟอาหาร การเสริฟอาหาร มีลําดับขั้นตอนคือ ขนมปังและเนย ซุป สลัด อาหารจานหลัก ของหวาน ชา/กาแฟ ขนมปังและเนย จานขนมปั ง อยู่ด้ า นซ้ า ยของผู้ นั่ ง และบนจานจะมีมี ด เนยสํ าหรั บตั ก เนยทาขนมปั ง แต่ ล ะชิ้ นก่ อ น รับประทาน บริกรอาจจะเสริฟขนมปังเป็นรายบุคคลหรือวางตะกร้าขนมปังบนโต๊ะ ในกรณีที่ เสริฟเป็น รายบุคคลบริกรจะนําตะกร้ามาบริการทางซ้าย ท่านอาจจะระบุจํานวนที่ต้องการได้ ถ้าเป็นตะกร้าขนมปัง วางไว้ให้ใช้ที่คีบหรือมือหยับขนมปังมาวางบนจาน ชิ้นใดที่จับแล้วควรหยิบมารับประทานโดยตักเนยจากจาน กลางด้วยมีดเนยกลางมาวางบนจานของตนเองแล้วจึงใช้มีดเนยของตนเองทาบนขนมปังที่ฉีกเป็นชิ้นพอดีคํา โดยมารยาทไม่ควรนําขนมปงมาเช็ดน้ําเกรวี่หรือน้ําซอสในจานอาหารหลัก แต่ประเทศอิตาลี การนําขนมปัง มาเช็ดซ้อสถือว่าเป็นการให้เกียรติและแสดงความอร่อยจนหยดสุดท้ายของน้ําซ้อส (พ่อครับอาจออกมากอด ขอบคุณในการให้เกียรติอย่างสูง) ซุป บริกรเสริฟซุปแล้วจะต้องรับประทานทันทีก่อนที่ซุปจะเย็น บริกรจะรอจนแขกคนสุดท้ายรับประทาน เสร็จแล้วจึงยกออก พึงหลีกเลี่ยงการบิขนมปังจากจานขนมปังลงในซุป จะมีขนมปังพิเศษที่เหมาะแก่การใส่ ลงในซุปโดยบริกรจะวางมาเป็นเครื่องเคียงในจานรองซุป ผู้รับเชิญจะต้องรอจนอาหารแต่ละคอร์สวางตรงหน้าทุกคน และเจ้าภาพเชิญให้เริ่มรับ ประทานจึง จะรับประทานสําหรับงานเลี้ยงใหญ่เมื่อบริกรเสริฟได้ 3-4 คน เจ้าภาพหญิงอาจเชิญให้เริ่มรับประทานได้เลย ซุปบางประเภทเป็นซุปใสที่เสริฟถ้วยมีหูสองข้าง สามารถจับหูทั้งสองยกรับประทานได้ให้ใช้ช้อนซุป ในการรับประทาน ถ้าซุปเสริฟในจานใหญ่ให้วางช้อนไว้ในจานเมื่ออิ่มแล้ว ถ้าเสริฟในถ้วยให้วางช้อนในจาน รอง สลัด ในงานเลี้ยงอาหารค่ําอย่างเป็นพิธีการสลัดผักจะจัดมาเป็นชุด (มีปู ปลา ไก่ กุ้ง เนื้อ)หากไม่นิยม รับประทานให้เลือกรับประทานเฉพาะผัก เหลือที่รับประทานไม่ได้ไว้ในจาน อาหารหลัก (ENTREE) หลังจากบริกรเก็บจานสลัดเรียบร้อยแล้วจะทําการเสริฟอาหารหลักเป็นจานหรือจานเปล การเสริฟ เป็นจานจะเสริฟเป็นรายบุคคล โดยบริกรจะยกเสริฟเข้าด้านซ้าย เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมก็เริ่มรับประทานได้ กรณีเสริฟปลาให้ใช้ช้อนและส้อมในในจานเปลตักปลาซึ่งหั่นเป็นชิ้นๆ มาไว้ที่จานตนเอง สําหรับการเสริฟ หน้า 96  

การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development) 

อาหารประเภทผักใช้ช้อนที่มีร่องตักเพื่อไม่ให้ส่วนประกอบที่เป็นของ เหลวหยดเปรอะเปื้อนตอนตักใส่จาน กรณีอาหารหลักเป็นปลา มีที่จัดให้จะเป็นมีดปลา ซึ่งจะวางถัดจากมีดสลัดเข้ามา การเติมอาหารครั้งที่สอง ในอดีตการเลี้ยงอาหารแบบนั่งโต๊ะจะไม่มีการเติมครั้งที่สอง แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปตามลักษณะและ ปริมาณของอาหาร มีเจ้าภาพจํานวนมากที่เสนออาหารให้เติมครั้งที่สอง เมื่อแขกได้รับการเสนอ ไม่ควรอาย ที่จ ะตอบรับ เพราะแสดงถึง ความอร่อ ยของอาหารซึ่ ง ถื อ เป็ น การเยิ น ยอเจ้ า ภาพ (โดยเฉพาะถ้ า เจ้า ภาพ ทําอาหารเอง) แต่หากอิ่มสามารถปฏิเสธได้ ควรรวบส้อมและมีดโดยหันคมมีดไปทางซ้าย ส้อมหงานขึ้นและ วางเป็นแนวดิ่งกึ่งกลางของจาน บริกรจะเก็บจานจากทางขวาของผู้นั่ง กาแฟ การเสริฟกาแฟ บริกรจะนําชาและกาแฟมาเสริฟ โดยกาแฟจะอยู่ในภาชนะเงินขัดมัน ทรงสูง (ถ้า เป็นชาจะใช้ภาชนะทรงป้อม) การเติมน้ําตาลหรือครีมให้ใช้คีมคีบหรือช้อนตักน้ําตาล และเทครีมใส่ถ้วยจาก ภาชนะเสริฟ และใช้ช้อนของตนเองคนกาแฟ ห้ามใช้ช้อนตักกาแฟมาชิมชิม เมื่อคนเสร็จแล้วให้วางช้อนชา บนจานรอง การดื่มให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจับที่หูถ้วยและยกขึ้นดื่มระวังไม่ให้มีเสียงดัง หากร้อนเกินไปให้ คอย อย่าเป่า อาหารอื่นนอกจากอาหารหลัก ธรรมเนียมแบบฝรั่งเศส เจ้าภาพจะจัดให้เสริฟสลัดผักอยู่หลังอาหารจานหลัก นอกจากนั้นมีอาหาร 2-3 คอร์สที่อาจจะพบในงานเลี้ยงแบบตะวนตก คือ - Hors d’oeuvre คืออาหารเรียกน้ําย่อย ในบางร้านอาหารเรียกว่าAPPETIZERโดยทั่วไปจะเป็น อาหารจานไม่โต และมักจะอร่อยเป็นพิเศษเพื่อเรียกน้ําย่อย เช่น SHRIMP COCKTAIL, SMOKED SALMON OYSTERS หรือ CLAM สด - Sorbet หรือ Sherbetเป็นไอศกรีมผลไม้ไม่ใส่นมหรือครีม บางครั้งปรุงรสด้วยสุราโดยทั่วไป มักจะเสริฟเป็นก้อนเล็กๆ ในถ้วยไอศรีมก่อนอาหารจานหลัก โยมีวัตถุประสงค์เพื่อคั่นระหว่างอาหารคอร์สต่อ ไปที่จะเสริฟ เพื่อให้มีโอกาสพูดคุยระหว่างรับประทานอาหาร - เนยแข็ง หรือ cheese board จะประกอบด้วยเนยแข็งหลายประเภท โดยบริกรจะนํามาเสริฟ เพื่อให้ผู้รับประทานเลือก เมื่อเลือกแล้วพนักงานจะตัดเนยแข็งเสริฟพร้อมขนมปัง อาจเสริฟก่อนผลไม้หรือ หลังของหวานขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าภาพ

การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)  

หน้า 97

เทคนิคพิเศษในการรับประทานอาหารชนิดต่างๆ - เนยแข็ง ตัดทีละชิ้นเล็กๆ วางบนขนมปังหรือบิสกิต ใช้มือหยิบเข้าปาก บางคนชอบรับประทาน ของของเนยอ่อน เช่น camembert ซึ่งเป็นความชอบเฉพาะตัว - ปลา มีความนิยมที่แตกต่างกันคือ แล่ปลาก่อนรับประทานหรือตัดรับประทานทีละคํา การแล่ รับประทานง่ายกว่า เจ้าของบ้านอาจวางจานเปล่าไว้ให้ใส่ก้าง ถ้ามีก้างในปากให้ใช้มือหยิบออกมาอย่าง ปกปิดที่สุดแล้ววางไว้ขอบจาน ขนมพุดดิ้งถ้าผลไม้มีเมล็ด คายอย่างไม่เปิดเผยลงในช้อนวางไว้ขอบจาน ใน บางครั้งปลาอาจถูกเลากระดูกและก้างเรียบร้อยแล้วเรียกว่า FILLET (without bones) - ผลไม้ ผลไม้ที่มีเมล็ด เช่น องุ่น เชอรี่ ใช้วิธีรับประทานด้วยมือ ยกมือปิดปากคายเมล็ดใส่แล้ว วางไว้ขอบจาน ถ้าเป็นผลไม้ที่มีเมล็ดโต เช่น พีช ใช้มีดแซะเมล็ดออก แล้วตัดผลไม้เป็นส่วนๆ ด้วยมือและ รับประทานด้วยมือ - เนื้อ ใช้มีดเมื่อจําเป็นต้องตัด หรือรับประทานเสต็กด้วยมีดและส้อม - หอย ชาวอังกฤษใช้มือข้างหนึ่งจับเปลือกหอยแล้วใช้ส้อมจิ้มเนื้อเข้าปาก ชาวฝรั่งเศสใช้เปลือก หอยเปล่าตักเนื้อหอยแทนส้อม - ถั่ว ใช้ส้อมจิ้มถั่ว 2 -3 เมล็ด แล้วใช้มีดเขี่ยถั่วอีกจํานวนหนึ่งขึ้นไปบนหลังส้อม หรือหงายส้อม ขึ้นแล้วตักถั่วโดยใช้มีดช่วยเขี่ยขึ้น เมื่อตักเข้าปากแล้ววางส้อมคว่ําลงแล้วหงายขึ้นตักต่อไปอีก - พุดดิ้ง รับประทานด้วยส้อม ไอศกรีมและ sherbet ให้ใช้ช้อน - สลัด ใช้ได้ทั้งมีดและส้อม - หอยนางรม รับประทานสดๆ โดยใช้ส้อมหอยโดยเฉพาะ ใช้ส้อมจิ้มทั้งตัวแล้วราดด้วยน้ํามะนาว หรือซอสค็อกเทล รับประทานทั้งตัวในคําเดียว กาแฟและเหล้าหลังอาหาร อาจเสริฟที่โต๊ะหรือนอกโต๊ะอาหาร บริกรจะรินกาแฟให้แขก และแขกเติมน้ําตาล และครีมเอง เหล้าหลังอาหาร จะเสริฟทันทีหลังจากเสริฟกาแฟ กรณีเสริฟในห้องนั่งเล่น แก้วจะวางไว้ที่โต๊ะข้าง ฝา ถ้าแขกอยู่ที่โต๊ะอาหารเหล้าและแก้วจะถูกเสริฟในถาด การอําลา ปกติแขกจะลากลับจากงานเลี้ยงอาหารแบบนั่งโต๊ะตามเวลาในบัตรเชิญ หรือเวลาในกําหนดการที่ พิมพ์ในเมนู กรณีไม่มีกําหนดเวลาเสร็จสิ้นงานแขกควรเริ่มอําลากลับหลังจากลุกจากโต๊ะอาหารมารับประทาน เครื่องดื่มหลังอาหารประมาณ 15 – 30 นาที สําหรับงานเลี้ยงอย่างเป็นทางการ เจ้าภาพอาจมีเทคนิคใน หน้า 98  

การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development) 

การแสดงนัยของการจบงานเพื่อให้แขกลากลับด้วยการส่งสัญญาณให้ดนตรีหยุดแสดงหรือเปิดไฟสว่างขึ้น หรือ มีพิธีกรกล่าวปิดงาน การขอบคุณ นอกจากขอบคุณเจ้าภาพตอนลากลับแล้ว แขกควรเขียนจดหมายขอบคุณในวันถัดไป โดยกล่าวถึง จุดที่แขกพึงพอใจมากเป็นพิเศษ (อนุโลมภายใน 1 สัปดาห์)

การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)  

หน้า 99