ผลของการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อพัฒ T - สถาบันวิจัยและพัฒนา

เรขา อรัญวงศ์***. Dr.Reakha Arunwong. บทคัดย่อ. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ เปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด. ประสบการ...

18 downloads 532 Views 166KB Size
ผลของการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย The Effect of the Project Appoach Experience on Early Childhood Development ชวาลา สุขโข* Chawala Sukkho ดร.สุณี บุญพิทักษ์** Dr.Sunee Bunpitak ดร.เรขา อรัญวงศ์*** Dr.Reakha Arunwong

บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด ประสบการณ์แบบโครงการโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ วิธีดาเนินการวิจัยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีขั้นตอน ดังนี้ การเปรียบเทียบพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบ โครงการก่อนและหลังสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านโนนสมอ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาแพงเพชร เขต 1 ปีการศึกษา 2553 จานวน 14 คน แบบแผนการวิจัยที่ใช้ในการทดลอง คือ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ จานวน 2 แผน และแบบสังเกตพัฒนาการ 4 ด้าน จานวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติทดสอบที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการเด็กปฐมวัยรายด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ที่ได้รับการ จัดประสบการณ์แบบโครงการมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน สูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คาสาคัญ : แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ / พัฒนาการของเด็กปฐมวัย

*นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร **ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจาหลักสูตรสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร ***ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจาหลักสูตรสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร

ABSTRACT The research purposes was to compare childhood development who were experienced by project approach plan. The methodology was quasi-experimental which was using One-Group Pretest-Posttest Design the childhood development was collected from 14 one school children of Bannoonsmore School, Kamphaeng Phet. The equipment were project approach plan, and 4 childhood development observation forms. The dependent t-test was used in analyzing data. The research result were as follows; After the sample was experienced by project approach plan, the childhood development; the body, emotion and mind, social, and intelligence development were higher at the statistic significance of statistics at level .01

Keywords : Project Appoach Experience / Early Childhood Development บทนา ปัจจุบันสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือที่สาคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา คนให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานที่สาคัญ ในการพัฒนาประเทศ มีบทบาท ต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มศักยภาพของคนในทุกด้านให้สามารถดารงชีวิตอยู่ ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การจัดการศึกษาจึงต้องให้สอดคล้องกับชีวิตในสังคม หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ปรัชญาของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 คือ การจัดการศึกษาปฐมวัยเป็น การพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 5 ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อ ธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่อตนเองและสังคม (กรมวิชาการ, 2546, หน้า 5) ปัจจุบันการจัดการศึกษาตามนโยบายและ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย 0-5 ปี (นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ระยะยาว พ.ศ. 2550-2559, 2550, หน้า 17) โดยเน้นให้เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับและมีการพัฒนาที่ดีและเหมาะสมอย่าง รอบด้าน สมดุลเต็มศักยภาพพร้อมทั้งเรียนรู้อย่างมีความสุขและเติบโตตามวัยอย่างมีคุณภาพ ซึ่งความสาคัญของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 22 ที่กล่าวว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสาคัญที่สุด กระบวนการจัดการการศึกษาต้อง ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและศักยภาพ (สานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2541, หน้า 12-17) จากการสรุปผลการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2545-2548 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาแพงเพชร เขต 1 พบว่า มาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมี คุณธรรม จริยธรรม ร้อยละ 62.25 มาตรฐานที่ 12 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัย ด้านดนตรีและ

การเคลื่อนไหว ร้อยละ 65.25 (พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ) มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะเบื้องต้น ร้อยละ 62.75 (พัฒนาการด้านสติปัญญา) มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ร้อยละ 55.25 (พัฒนาการด้านสติปัญญา) มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนรักการเรียนรู้ มีทักษะ ในการแสวงหาความรู้ ร้อยละ 59.50 (พัฒนาการด้านสติปัญญา) มาตรฐานที่ 9 ผู้เรียนมีทักษะในการทางานรักการ ทางานสามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้ ร้อยละ 66.50 (พัฒนาการด้านสังคม) มาตรฐานที่ 10 ผู้เรียนมีสุขภาพกาย สุขภาพจิตและสุขนิสัยที่ดี ร้อยละ 73.00 (พัฒนาการด้านร่างกาย) จากข้อสรุปของการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษาแสดงให้เห็นว่าคุณภาพของนักเรียนก่อนประถมศึกษา โดยเมื่อรวมเฉลี่ยแล้วได้ร้อยละ 65.2 ถือว่า อยู่ในระดับพอใช้ พัฒนาการด้านร่างกายได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละสูงที่สุด คือ ร้อยละ 73 แต่ยังอยู่ในระดับพอใช้ พัฒนาการด้านสังคมอยู่ในลาดับที่ 2 และพัฒนาการด้านสติปัญญาอยู่ในลาดับที่สาม ส่วนพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจมีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด ดังนั้นพัฒนาการของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับพอใช้ทุกด้าน จึงควรได้รับการพัฒนา จากการจัดการเรียนการสอนของไทยที่ผ่านมา พบว่า ยังยึดครูเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอนเน้นการ ให้ความรู้ การให้นักเรียนท่องจาเป็นสาคัญ (กรมวิชาการ, 2542, หน้า 142) ครูให้ความสนใจและความสนใจและ ความสาคัญแก่นักเรียนน้อยมาก ไม่สนใจความรู้เดิมหรือความต้องการของนักเรียนเพียงแต่เตรียมเนื้อหาที่จะสอน นักเรียนแต่ละคนได้รับการปฏิบัติอย่างเดียวกัน โดยไม่คานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (รุ่ง แก้วแดง, 2542, หน้า 139) ครูมักจะจัดการเรียนการสอนโดยเน้นความสามารถของนักเรียนเพียง 2 ด้าน ด้านการคิดหาเหตุผล เชิงตรรกะ และความสามารถทางภาษาเท่านั้น (สานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2543, หน้า 14) นักเรียนถูกกาหนดกรอบให้ฟัง การถ่ายทอดความรู้ผ่านตัวครูในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ ทาให้เกิดความเครียด ความอึดอัด ไร้ความสุข ศักยภาพของเขาที่ควรรับการพัฒนาอย่างเต็มที่ทุกๆ ด้านถูกจากัดลง (กรมวิชาการ, 2542, หน้า 1) ด้วยเหตุนี้นักเรียนจึงเรียนอย่างไร้ความสุขคู่มือหลักสูตรระดับปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และ สติปัญญา โดยกาหนดแนวทางการจัดประสบการณ์จะไม่เน้นเป็นรายวิชา แต่จะจัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการ ผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง (กรมวิชาการ, 2546, หน้า 42) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ หลากหลายวิธีทาให้นักเรียนสนใจในบทเรียน ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็ก ได้พัฒนาไปอย่าง เหมาะสมผู้วิจัยจึงมีความสนใจรูปแบบการจัดประสบการณ์ และส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน การจัดประสบการณ์ แบบโครงการการสอนแบบโครงการนั้น คือ การที่เด็กศึกษาสืบค้นลงลึกในเรื่องที่เด็กสนใจหรือทั้งผู้สอน และ เด็กสนใจ โดยเด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติ สืบค้นข้อมูลเพื่อหาคาตอบจากคาถามของตนเองภายใต้การช่วยเหลือ แนะนา โดยการอานวยความสะดวกและสนับสนุนจากผู้สอน แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะเตรียมการวางแผนเข้าสู่โครงการ ระยะเริ่มต้นโครงการ ระยะพัฒนาโครงการ และระยะสรุปโครงการ ซึ่งในแต่ละระยะจะประกอบด้วยการอภิปราย การออกภาคสนาม การสืบค้น การนาเสนอและการจัดแสดงเป็นกิจกรรที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและ ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือ กระบวนการในการคิดหาคาตอบในเรื่องนั้นๆ โดยมีครูผู้สอนคอยให้คาแนะนาและให้คาปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่าง ใกล้ชิด ในการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์สาหรับเด็กปฐมวัย จัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาด้านสติปัญญาให้แก่ เด็กปฐมวัยมีมากมายหลายวิธี การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กได้พัฒนาทักษะ

การเรียนรู้ฝึกการทางานและอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ กิจกรรมที่จัดมุ่งฝึกให้เด็กได้มีโอกาส ฟัง พูด สังเกต คิด แก้ปัญหา ใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน โดยจัดกิจกรรมด้วย วิธีต่างๆ เช่น สนทนา อภิปราย สาธิต ทดลอง เล่านิทาน เล่นบทบาทสมมติ ร้องเพลง ท่องคาคล้องจอง ศึกษานอก สถานที่ เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ (คู่มือหลักสูตรก่อนประถมศึกษา, 2540, หน้า 36) และควรจัดกิจกรรมส่งเสริม ให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทุกด้าน การจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) เป็นรูปแบบ การจัด ประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการศึกษาหาความรู้อย่างลุ่มลึก มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกด้าน (ความรู้ ทักษะ อารมณ์ จริยธรรม) แคทซ์ และชาร์ด (Kath & Chard, 1994, pp. 15-16) ได้ให้ความหมายของการสอน แบบโครงการว่า คือ การศึกษาอย่างลุ่มลึกในเรื่องที่นักเรียนมีความต้องการและสนใจจากสภาพแวดล้อม และ สถานการณ์จริงที่อยู่รอบตัวเด็ก ซึ่งจะทาให้เด็กมีโอกาสได้เลือกเรื่องและเลือกคาถามที่ต้องการค้นคว้าหาคาตอบ และวิธีการเสนอคาตอบหรือผลงานเมื่อค้นพบคาตอบด้วยตนเอง เช่น วาดเป็นภาพ ระบายสี แสดงละคร เป็นต้น ฮาร์ทแมน (Hartman, 1995, pp. 1-4) ได้ให้ความหมายของการสอนแบบโครงการไว้ว่า การสอนแบบโครงการ คือ การศึกษาอย่างลุ่มลึกตามความสนใจของนักเรียน โดยนักเรียนเป็นผู้ตั้งคาถามหาทางเลือกเพื่อหาคาตอบ และ เสนอผลการค้นคาตอบด้วยงานที่สร้างขึ้น โครงการแตกต่างกัน ตั้งแต่ขนาดใหญ่ใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ หรือขนาดเล็ก 1 สัปดาห์ แต่จะใช้ขั้นตอนเดียวกัน คือ เริ่มต้น (Start) ปฏิบัติให้เกิดผล (Implementation) และปรับเปลี่ยน เพื่อเสนอผลงาน (Transition) อย่างมีขบวนการ (Process of Project) จากปัญหาดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยจึงเห็นความสาคัญของการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ดังนั้นการจัดประสบการณ์แบบโครงการนี้จะช่วยให้เด็ก มีโอกาสพัฒนาการที่ดี กล้าในการคิด การพูด การกระทา กล้าในการเผชิญความจริง ไม่วิตกกังวล รอบคอบมี แผนงาน ทั้งนีเ้ พื่อเป็นแนวทางสาหรับครูในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ให้พัฒนาเต็มตามศักยภาพอย่างสมบูรณ์ ต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

ขอบเขตของการวิจัย 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กล้วย และหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ผักบุ้ง ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2546 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ ใช้เวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ วันละ 3 ชั่วโมง 2. ขอบเขตด้านกลุ่มตัวอย่าง/ผู้ให้ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านโนนสมอ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษากาแพงเพชร เขต 1 จานวน 14 คน

3. ขอบเขตด้านตัวแปร 3.1 ตัวแปรต้น คือ การจัดประสบการณ์แบบโครงการ 3.2 ตัวแปรตาม คือ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย

วิธีดาเนินการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง / ผู้ให้ข้อมูล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษากาแพงเพชร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชายหญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนบ้านโนนสมอ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาแพงเพชร เขต 1 จานวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ จานวน 2 แผน 2. แบบสังเกตพัฒนาการ 4 ด้าน จานวน 4 ฉบับ การเก็บรวบรวมข้อมูล ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้ 1. ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยทาการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ใช้เวลา 4 สัปดาห์ วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ รวม 30 วัน วันละ 3 ชั่วโมง ผู้วิจัยได้ทดลองใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการ โดยใช้กับ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนสมอ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จานวน 14 คน โดยดาเนินการ ดังนี้ 2. ก่อนการทดลองผู้วิจัยทาการบันทึกพฤติกรรมด้านพัฒนาการของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง แล้วนาข้อมูล มาวิเคราะห์หาคะแนนพื้นฐานของนักเรียนแต่ละคนในแต่ละด้าน 3. ดาเนินการทดลองโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จานวน 14 คน ใช้เวลาในการทดลอง จานวน 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 15 ชั่วโมง ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ระหว่างเวลา 08.3011.30 น. จนครบ 2 เรื่อง และบันทึกพฤติกรรมตามแบบสังเกตพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ สัปดาห์ที่ 1 ดาเนินการตามแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการหน่วยกล้วย และบันทึกพฤติกรรม ด้านพัฒนาการโดยใช้แบบสังเกตพัฒนาการด้านร่างกาย แบบสังเกตพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ แบบสังเกต พัฒนาการด้านสังคม และแบบสังเกตพัฒนาการด้านสติปัญญา สัปดาห์ที่ 2 ดาเนินการตามแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการหน่วยกล้วย และบันทึกพฤติกรรม ด้านพัฒนาการโดยใช้แบบสังเกตพัฒนาการด้านร่างกาย แบบสังเกตพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ แบบสังเกต พัฒนาการด้านสังคม และแบบสังเกตพัฒนาการด้านสติปัญญา สัปดาห์ที่ 3 ดาเนินการตามแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการหน่วยผักบุ้ง และบันทึกพฤติกรรม ด้านพัฒนาการโดยใช้แบบสังเกตพัฒนาการด้านร่างกาย แบบสังเกตพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ แบบสังเกต พัฒนาการด้านสังคม และแบบสังเกตพัฒนาการด้านสติปัญญา

สัปดาห์ที่ 4 ดาเนินการตามแผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการหน่วยผักบุ้ง และบันทึกพฤติกรรม ด้านพัฒนาการโดยใช้แบบสังเกตพัฒนาการด้านร่างกาย แบบสังเกตพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ แบบสังเกต พัฒนาการด้านสังคม และแบบสังเกตพัฒนาการด้านสติปัญญา 4. หลังจากดาเนินการทดลองสิ้นสุดลงได้นาแบบสังเกตพัฒนาการหลังเรียน ซึ่งเป็นฉบับเดียวกับก่อน การทดลองนามาใช้สังเกตพัฒนาการกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จานวน 14 คน 5. นาผลการตรวจให้คะแนนจากแบบสังเกตพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ในการเรียนโดยใช้แผนการจัด ประสบการณ์การแบบโครงการ นาคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ตรวจให้คะแนนแบบบันทึกพฤติกรรมด้านพัฒนาการทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน และนาคะแนน การบันทึกพฤติกรรมด้านพัฒนาการก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมาหาค่าเฉลี่ย ( X ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 2. เปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบ โครงการก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ด้วยสถิติทดสอบที (t-test Dependent Samples) แบบไม่เป็นอิสระ ต่อกัน

ผลการวิจัย 1. ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบโครงการก่อนและหลังสอน เมื่อนาไปทดลองใช้กับนักเรียน จานวน 14 คน พบว่า พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการหลังสอนสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสาคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย 2. พัฒนาการด้านร่างกายเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการมี คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนสอนเป็น 9.50 และ 1.50 ตามลาดับ คะแนนเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานหลังสอนเป็น 11.29 และ 0.69 ตามลาดับ จากการทดสอบทางสถิติโดยการทดสอบค่าที พบว่า พัฒนาการด้านร่างกายหน่วยผักบุ้งของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบ โครงการหลังสอนสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจหน่วยผักบุ้ง เด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบโครงการมีคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนสอนเป็น 9.79 และ 1.31 ตามลาดับ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังสอนเป็น 11.29 และ 0.91 ตามลาดับ จากการทดสอบทางสถิติโดย การทดสอบค่าที พบว่า พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจหน่วยผักบุ้งของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการหลังสอนสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. พัฒนาการด้านสังคมหน่วยผักบุ้ง เด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้แบบโครงการมีคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนสอนเป็น 9.43 และ 1.15 ตามลาดับ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังสอนเป็น 11.14 และ 0.77 ตามลาดับ จากการทดสอบทางสถิติ

โดยการทดสอบค่าที พบว่า พัฒนาการด้านสังคมหน่วยผักบุ้งของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการหลังสอนสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. พัฒนาการด้านสติปัญญาหน่วยผักบุ้ง เด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบโครงการมีคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนสอนเป็น 8.86 และ 0.86 ตามลาดับ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังสอนเป็น 11.07 และ 0.82 ตามลาดับ จากการทดสอบทางสถิติ โดยการทดสอบค่าที พบว่า พัฒนาการด้านสติปัญญาหน่วยผักบุ้งของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการหลังสอนสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. พัฒนาการด้านร่างกายหน่วยกล้วย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบโครงการมีคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนสอนเป็น 9.50 และ 1.50 ตามลาดับ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังสอนเป็น 11.21 และ 0.69 ตามลาดับ จากการทดสอบทางสถิติ โดยการทดสอบค่าที พบว่า พัฒนาการด้านร่างกายหน่วยกล้วยของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการหลังสอนสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 7. พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจหน่วยกล้วย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบโครงการมีคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนสอนเป็น 9.71 และ 1.20 ตามลาดับ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังสอนเป็น 11.86 และ 0.36 ตามลาดับ จากการทดสอบทางสถิติ โดยการทดสอบค่าที พบว่า พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจหน่วยกล้วยของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการหลังสอนสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 8. พัฒนาการด้านสังคมหน่วยกล้วย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบโครงการมีคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนสอนเป็น 9.57 และ 1.34 ตามลาดับ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังสอนเป็น 11.79 และ 0.42 ตามลาดับ จากการทดสอบทางสถิติ โดยการทดสอบค่าที พบว่า พัฒนาการด้านสังคมหน่วยกล้วยของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการหลังสอนสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 9. พัฒนาการด้านสติปัญญาหน่วยกล้วย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบโครงการมีคะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนสอนเป็น 8.93 และ 0.82 ตามลาดับ คะแนนเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังสอนเป็น 11.29 และ 0.61 ตามลาดับ จากการทดสอบทางสถิติ โดยการทดสอบค่าที พบว่า พัฒนาการด้านสติปัญญาหน่วยกล้วยของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการ จัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการหลังสอนสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

อภิปรายผล ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบโครงการก่อนและ หลังสอน เมื่อนาไปทดลองใช้กับนักเรียน จานวน 14 คน พบว่า พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ที่ได้รับการสอนโดยใช้ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการหลังสอนสูงกว่าก่อนสอน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย จากการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ ทาให้เด็กมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าการที่เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้ผ่านโครงการที่นักเรียนเลือก โดยใช้การสอนแบบโครงการตามขั้นตอนการสอนแบบโครงการ 4 ขั้นตอนนั้น ทาให้นักเรียนมีพัฒนาการหลังสอน สูงกว่าก่อนสอน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดพิพัฒนนิยม (Progressive) ของ John Dewey ได้ชี้ให้เห็นว่าธรรมชาติ ของเด็กมีความกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมและต้องการพึ่งพาตนเอง ดังนั้นเด็กควรมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น ได้เรียนรู้จากการกระทาและมีประสบการณ์ตรงกับสิ่งแวดล้อม ได้เล่นอย่างอิสระ ได้มีโอกาสช่วยเหลือซึ่งกันและ กัน

ข้อเสนอแนะในการวิจัย 1. ข้อเสนอแนะในการนาผลวิจัยไปใช้ 1.1 ก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรศึกษาขั้นตอนการจัดประสบการณ์แบบโครงการให้ ละเอียด เตรียมแผนการจัดประสบการณ์ไว้ให้เข้าใจเพื่อการจัดกิจกรรมอย่างมีคุณภาพ 1.2 การจัดบรรยากาศในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรเป็นกันเองกับนักเรียนและให้โอกาส นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ เป็นผู้คอยส่งเสริมสนับสนุนนักเรียน อานวยความสะดวก เพื่อให้นักเรียน คิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาเป็น สามารถนาความรู้เป็นองค์ความรู้ใหม่ได้ 1.3 จากการสังเกตเด็กขณะทากิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยพบว่า เด็กจะชอบกิจกรรม การทัศนศึกษา และ การทดลองมาก ดังนั้นครูผู้สอนควรจัดประสบการณ์แบบโครงการที่ให้นักเรียนมีประสบการณ์ด้านการทัศนศึกษา และการทดลองอย่างหลากหลาย 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อตัวแปรอื่นๆ เช่น ความคิดเชิง เหตุผล การมีคุณธรรมจริยธรรม 2.2 ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบโครงการในระดับชั้นอื่นๆ เพื่อส่งเสริมนักเรียน ได้เรียนรู้ในลักษณะพัฒนาศักยภาพของนักเรียน และสามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้อย่างมีศักยภาพ 2.3 ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดประสบการณ์แบบโครงการกับวิธีการสอบแบบอื่นๆ เช่น รูปแบบไฮสโคป รูปแบบคอนสตรัคติวิสต์

เอกสารอ้างอิง คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สานักงาน. (2541). คู่มือการอบรมเลี้ยงดูเด็กระดับก่อนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. _______. (2543). การปฏิรปู กระบวนการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา. รุ่ง แก้วแดง. (2542). ปฏิวัติการศึกษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : มติชน. เลขาธิการสภาการศึกษา, สานักงาน. (2550). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ระยะยาว พ.ศ. 2550-2559. กรุงเทพฯ : สานักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้. วิชาการ, กรม. (2540). คู่มือหลักสูตรก่อนประถมศึกษา พุทธศักราช 2540 (อายุ 3-6 ปี). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. _______. (2542). นโยบายและแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. _______. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. Hartman, L.G., & Chard, S. C. (1995). Project in early year. Childhood Education, 71(3), 144-147. Katz, A. J., & Chard, S. C. (1994). Engagin children’s minds : The project approach. New Jersey : Ablan.

References Hartman, L.G., & Chard, S. C. (1995). Project in early year. Childhood Education, 71(3), 144-147. Kaeodang, R. (1999). Revolutionized the study of Thai. (7 th ed.). Bangkok : Matichon. Katz, A. J., & Chard, S. C. (1994). Engagin Children's minds : The project Approach. New Jersey : Ablan. Ministry of Education, Department of Education. (1997). Guide for early childhood education curriculum BE 2540 (age 3-6 years). Bangkok : Ministry of Education, Department of Education. _______. (1999). Policy and planning 12 years of basic education. Bangkok : The religion. _______. (2003). Curriculum early childhood education act 2003. Bangkok : Teachers. Length.

Office of the National Primary Education Commission. (1998). Guide to parenting children pre-primary education. Bangkok : Office of the National Primary Education Commission. _______. (2000). Reform the learning process. Bangkok : Office of the National Primary Education Commission. Office of the Education Council, Ministry of Education. (2007). Strategic development of preschool children (0-5 years) year term from 2007 to 2016. Bangkok : Department for education and learning standards.